ระบบสืบพันธุ์เพศชายและระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

๑) โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศชาย โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศชาย หน้าที่
อัณฑะ (testis) มี ๒ ข้าง มีลักษณะคล้ายรูปไข่ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย
ถุงหุ้มอัณฑะ(scrotum)ห่อหุ้มป้องกันอันตรายให้ลูกอัณฑะรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตหรือการสร้างอสุจิ
หลอดเก็บอสุจิ (epidermis) หรือท่อพักอสุจิ เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนส่งผ่านไปยังหลอดนำอสุจิ
ท่อนำอสุจิ (vas deferens) ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บในถุงเก็บอสุจิ ผ่านต่อมลูกหมากไปต่อกับท่อปัสสาวะเพื่อออกสู่ภายนอก
ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
ต่อมลูกหมาก (prostate gland) หลั่งสารมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ ไปรวมกับถุงเก็บน้ำอสุจิที่มีลักษณะข้นขาวเหลว
ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glang) หลั่ง สารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ ขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้อสุจิเคลื่อนที่เร็ว และชำระล้างกรดของน้ำปัสสาวะที่เคลือบท่อปัสสาวะทำให้ตัวอสุจิไม่ตาย ก่อนที่จะเคลื่อนออกมา

๒) โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง หน้าที่
รังไข่ (ovary) มี 2 ข้าง ตรงปีกมดลูก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและผลิตไข่เดือนละข้างสลับกัน 28-30 วัน โดยธรรมชาติเพศหญิงจะมีไข่ประมาณ 400 ใบตลอดชีวิต
ท่อนำไข่ (oviduct) หรือปีกมดลูก (fallopian tube) ทำ หน้าที่เป็นทางผ่านของไข่จากรังไข่จากมดลูก มีอยู่ 2ข้าง ตั้งอยู่ตอนบนของมดลูก ตอนปลายติดกับรังไข่ปีมดลูกเป็นจุดที่เกิดการผสมไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก (uterus) ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว(ตัวอ่อน)และเตรียมเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป
ช่องคลอด (vagina) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางผ่านของประจำเดือน (menstruation) เป็นทางออกของทารกขณะคลอด

๒.๒ หน้าที่ของระบบสืบพันธุ์

๑) สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย คือ อสุจิ และเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง คือ ไข่ เมื่อมีการปฏิสนธิจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อไป
๒) สร้างฮอร์โมนเพศ ที่ช่วยให้แสดงลักษณะทางเพศของเพศชายและเพศหญิงที่ชัดเจน

๒.๓ การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์
๑.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่มีไขมันสูงและเพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และถั่วเมล็ดแห้ง
๒.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
ผ่อนคลายความเครียด ช่วยสร้างเสริมระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง และทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ เช่น ทำงานอดิเรก นั่งสมาธิ ฟังเพลง
๔.งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะ แอลกอฮอล์จะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงและทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง
๕.สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและไม่รัดแน่นจนเกินไป
๖.ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อโรคได้
๗.อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
๘.ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพราะอาจเกิดการติดเชื้อทางเพศสืบพันธุ์และติดเชื้อเอดส์
๙.หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรปรึกษาแพทย์

๓.ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)

ระบบต่อมไร้ท่อมีความสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญอาหารและดูดซึมสารอาหารนำไปใช้ ซึ่งทำให้เกิดพลังงานในร่างกาย ควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ หรือการนำพลังงานเข้า-ออกภายในเซลล์อันจะเกิดผลต่อการเจริญเติบโต การตอบสนองทางอารมณ์ ต่อมไร้ท่อจะผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) ซึ่ง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต โดยฮอร์โมนจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ ฮอร์โมนแต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะอย่างและอิทธิพลต่ออวัยวะต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมไทมัส ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมเพศ

๓.๑โครงสร้างของระบบต่อมไร้ท่อ

๑) ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กอยู่ใต้สมอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและต่อมใต้สมองส่วนหลัง ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=74858

อ่านเพิ่มเติม ต่อมใต้สมอง http://www.pibul.ac.th/vichakan/sciweb/Biology42042/Hormone/Hormone/html/Website-endocrine-system/pituitary.htm

๑.๑ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่ดังนี้

ผลิตฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ถ้าผลิตมากเกินไปจะทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ ถ้าผลิตน้อยเกินไปทำให้เตี้ย แคระแกร็น
– ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ
– ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ให้ต่อมหมวกไตส่วนนอกทำงานได้ปกติ
– ผลิตฮอร์โมนเพศ ควบคุมและกระตุ้นการเจริญเติบโตการทำงานของต่อมเพศ
– ผลิตฮอร์โมนแลกโตจีนิกหรือโปรแลกติน กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมในขณะตั้งครรภ์และการเติบโตของเต้านม

๑.๒ ต่อมใต้สมองส่วนหลัง มีหน้าที่ดังนี้

– ผลิตฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการบีบตัวของมดลูกขณะคลอดและช่วยการหลั่งของน้ำนม
– ผลิตฮอร์โมนวาโซเพรสซิน เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของไต ควบคุมน้ำในร่างกายกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย และเพิ่มความดันโลหิต ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวานทำให้ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ

๒) ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มี 2 ข้างอยู่ด้านข้างของหลอดลมส่วนบน บริเวณลูกกระเดือกข้างละต่อม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งต้องใช้สารไอโอดีนที่ดูดซึมจากสารอาหารในกระบวนการผลิต ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินควบคุมการเผาผลาญในร่างกาย แลกเปลี่ยนน้ำและเกลือแร่ ควบคุมกรดไขมัน เปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกลูโคส ถ้าร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ หากผลิตน้อยเกินไปจะทำให้ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ ร่างกายจะเตี้ย แคระแกร็น ผิวหนังหยาบกร้านหากร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจำทำให้เกิดโรคคอพอก ทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นและการผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน ก็จะน้อยลง

๓) ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Glad) เป็นต่อมไร้ท่อที่เล็กที่สุด มี 2 คู่ อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ทำ หน้าที่ผลิตพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแส เลือด ถ้าต่อมพาราไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปจะไปละลายแคลเซียมออกจากกระดูกเข้า สู่กระแสเลือดทำให้เลือดมีระดับแคลเซียมสูงขึ้น อาจทำให้เกิดนิ่วในไต กระดูกพรุน ปวดกระดูกและข้อ แต่ถ้ามีฮอร์โมนต่ำ ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดผลต่อกล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก

๔) ต่อมหมวกไต (Adrenal Glad) มี 2 ต่อม อยู่ข้างบนและข้างหน้าที่ปลายด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ไตข้างซ้ายจะมีขนาดใหญ่และอยู่สูงกว่า ต่อมหมวกไตชั้นนอกมีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ต่อมหมวกไตชั้นในทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีนหรือฮอร์โมนฉุกเฉิน ที่มีผลจากการกระตุ้น เช่น ตกใจ ตื่นเต้น

๕) ตับอ่อน (Pancreas) เป็นได้ทั้งต่อมที่มีท่อและต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยอาหาร และสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งควบคุมการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ กรดไขมันในเลือดเพิ่ม ทำให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ ตับอ่อนยังสร้างฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นไกลโคเจนในตับให้เปลี่ยนกลูโคส

๖) ต่อมเพศ (Gonad Gland) ในเพศชาย คือ อัณฑะ ในเพศหญิง คือ รังไข่

๗) ต่อมไทมัส (Thymus Glad) เป็นต่อมที่รูปร่างคล้ายพีระมิด 2 พู (lobe) ติดกันขนาดและรูปร่างจะแตกต่างกันไปตามอายุ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

๓.๒ หน้าที่ระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อจะควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย เมื่อต่อมไร้ท่อทำงานปกติจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดพร้อมๆ กัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

๓.๓ การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบต่อมไร้ท่อ

๑) รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่มีรสหวาน เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
๒) ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
๓) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้ต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
๔) งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้ต่อมไร้ท่อบางต่อมทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
๕) พัก ผ่อนให้เพียงพอมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกรู้จักผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ซึ่งจะส่งผลให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ดี ทำให้มีสุขภาพกายและจิตใจดี

การดำรงชีวิตของมนุษย์เกิดจากการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยระบบประสาททำหน้าที่สำคัญในการรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย และสั่งการหน่วยปฏิบัติงานต่างๆ ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศให้เห็นความแตก ต่างกันระหว่างเพศ ส่วนระบบต่อมไร้ท่อจะควบคุมการผลิตฮอร์โมนและการทำงานของร่างกาย ปัจจัยที่จะช่วยในการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบทั้ง ๓ ระบบ คือ รับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ระบบทั้ง ๓ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง สถาบันประสาทวิทยา http://www.pni.go.th

ความรู้เพิ่มเติม โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองผิดปกติ หรืออะโครเมกาลี (Acromegaly) เกิดจากเนื้องอกที่ต่อมพิทูอิตารี (Pituitary) ได้สร้าง โกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งควบคุมการเจริญเติบโตออกมามากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ คือ มีความสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๑๐ เซนติเมตรต่อปีขึ้นไป นิ้วมือใหญ่หนา ส้นเท้าจะใหญ่ ฝ่าเท้าจะยึดผิดปกติ เสียงพูดจะเปลี่ยนไป ลิ้นคับปาก ฟันห่าง คางจะยื่น และอายุไม่ยืน

ผังสรุปสาระสำคัญ

ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ

๑.ระบบประสาท

เป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายประกอบด้วย ระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การได้ยิน การสัมผัสระบบประสาทส่วนปลายทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาท ส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งทำงานเหนือการควบคุมของจิตใจการสร้างเสริมประสิทธิภาพของระบบประสาททำ ได้โดยการรับประทานอาหารที่บำรุงสมอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผักผ่อนอย่างเพียงพอ

๒.ระบบสืบพันธุ์

เป็น ระบบที่สร้างฮอร์โมนเพศ เพื่อแสดงลักษณะทางเพศของเพศหญิงและเพศชาย สร้างเซลล์สืบพันธ์ คือ อสุจิและไข่เมื่อปฏิสนธิจะเกิดการตั้งครรภ์ในการดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปการสร้าง เสริมและดำรงประสิทธิภาพระบบสืบพันธ์ทำได้โดยการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สำส่อนทางเพศ

๓.ระบบต่อมไร้ท่อ

เป็น ระบบต่อมไร้ท่อต่างๆที่หลั่งฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และการดำรงชีวิตที่ปกติของร่างกาย การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพระบบต่อมไร้ท่อ ทำได้โดย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Leave a comment