วิธีการวางแผนพัฒนาสุขภาพของคนเองและครอบครัว

วิธีการวางแผนพัฒนาสุขภาพของคนเองและครอบครัว
การวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัวนั้น ควรปฏิบัติ ดังนี้
2.1 การวางแผนพัฒนาสุขภาพกาย
1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปฏิบัติอย่างน้อย 2-3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลาในการออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 30 นาที ให้ปฏิบัติตามหลักของการออกกำลังกาย โดยยืดหลัก หนัก นาน บ่อย จะเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก การแกกำลังกายต้องปฏิบัติตามความสามารถของบุคคล ตามวัย ตามความเหมาะสม ทั้งเวลา สถานที่ เพศ วัย การออกกำลังกายจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของระบบต่างในร่างกาย ส่งผมให้สุขภาพแข็งแรง

2. รับประทานอาหารต้องให้ครบ 5 หมู่และเหมาะสมกับวัย โดยเฉพาะวัยที่กำลังเติบโต มีการพัฒนาทางร่างกาย ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ เช่น วัยรุ่นยังอยู่ในวัยขอการเจริญเติบโตและต้องออกกำลังกาย เสียพลังงาน จึงต้องชดเชยด้วยคาร์โบไฮเดรต สร้างเริมการเจริญเติบโตด้วยอาหารประเภทโปรตีน

3. พักผ่อนให้เพียงพอ ระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละวัย มีความแตกต่าง เช่น วันเด็ก ต้องพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ ในวัยผู้ใหญ่ การนอนอาจน้อยลงแต่ต้องไม่น้อยเกินกว่า 6-8 ชั่วโมง และช่วงของการนอนหลับให้หลับสนิทเพื่อให้การหลั่งของสารแห่งความสุขไปอย่างเต็มที่ ใช้เวลาว่างในวันหยุดทำกิจกรรมหรือไปเที่ยวพักผ่อนยังสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับครอบครัว เพื่อผ่อนคลายและสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

4. การเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพร่างกายและได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในการตรวจสุขภาพร่างกาย ต้องตรวจทุกระบบอย่างละเอียด เช่น การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจมวลกระดูกในวัยผู้ใหญ่ ตรวจการทำงานของระบบสำคัญๆ ในร่างกาย

5. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อร่างกาย โดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองในช่วงการเป็นวัยรุ่น เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสำส่อนทางเพศ ตลอดจนการทดลองหรือใกล้ชิดกับผู้ที่ติดสารเสพติด

6. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยง หรือเลือกที่จะอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ การมีที่อยู่อาศัยที่ปราศจากพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง การที่เราอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดี สะอาด ทำให้เรามีอากาศหรือสถานที่ผักผ่อนหย่อนใจที่ดี มีน้ำสะอาดบริโภค มีห้องน้ำห้องส้วมที่ดี ปราศจากขยะมูลฝอย จะทำให้สุขภาพของเราดีไปด้วย

          การจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำความสะอาดบ้าน ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลงสาบ หรือทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืดและโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์

2.2 การวางแผนพัฒนาสุขภาพจิต

1. อ่านหนังสือที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย จิตใจสงบ เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือต้นไม้ เพื่อให้ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้สึกสบายใจ
2. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ
3. หมั่นนั่งสมาธิ เจริญปัญญาเพื่อให้จิตใจผ่องใส มีสติในการดำเนินชีวิต สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดี

2.3 การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านสังคม

1. เข้าร่วมกิจกรรมตามวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่นอยู่เสมอ หรือกิจกรรมอาสาสมัครของชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธภาพกับคนในชุมชน สามารถปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
2. เข้าร่วมเป็นสมาชิกของชมรมหรือสมาคมต่างๆ เพื่อให้รู้จักการเป็นผู้ให้ การเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่เอาเปรียบผู้อื่น เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

2.4 การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านปัญญา

1. ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาจากข่าวหรือสถานการณ์สำคัญของสังคม รวมทั้งผลกระทบที่ตามมา เพื่อฝึกการคิดและนำไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตของตนเองหรือของครอบครัว
2. หมั่นฝึกฝนทักษะการอ่าน การฟัง การพูด อยู่เสมอ เช่น การอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศ อ่านหนังสือแปล ฟังเพลงสากล ฝึกพูดภาษาต่างประเทศที่ตนสนใจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เสริมปัญญาให้กับตนเอง และเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต
3. ศึกษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้มีความรู้ สามารถใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้

Leave a comment