ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพเป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันสามารถที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น การรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัวเป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธภาพในสังคม ครอบครัวนั้นอาจประกอบด้วย สามี ภรรยา หรือ พ่อ แม่ ลูก หรืออาจรวมเป็นครอบครัวใหญ่ มีพ่อ แม่ ลูก ญาติพี่น้อง คนในครอบครัวย่อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีความเข้าอกเข้าใจ จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

หลักในการสร้างสัมพันธภาพในสังคม มีดังนี้

๑ ลูกต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ

๒ ทุกคนในครอบครัวต้องรักและซื่อสัตย์ มีความเอื้ออาทร ห่วงใยซึ่งกันและกัน

๓ ทุกคนต้องให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน ไม่เอาเปรียบ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

๔ เด็กต้องเค้ารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เองก็ควรรับฟังความคิดเห็นของเด็ก โดยเด็กจะต้องพูดหรือชี้แจงกับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ ไม่ก้าวร้าว

๕ ต้องร่วมกันขจัดปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความรักและ ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจกัน

การมีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นความปรารถนาของทุกคนในครอบครัว หากทุกคนรู้จักสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก็จะเป็นการป้องกัน ลดความขัดแย้ง รวมทั้งแก้ปัญหาในด้านต่างๆ รวมถึง เรื่องเพศด้วย และเมื่อมีครอบครัวที่อบอุ่นแล้ว ก็ควรร่วนกันรักษาสัมพันธภาพอันดีของครอบครัวให้คงไว้หรือดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ

ปู ทะเลาะกับแม่และไม่พูดกับแม่หลายวันแล้วเพราะแม่ดุที่ปูกลับบ้านค่ำ และไม่ค่อยอยู่บ้านในวันหยุด หลายวันที่ผ่านมา ปูรู้สึกไม่สบายใจ จึงอยากขอโทษแม่ วันศุกร์ปูจึงกลับบ้านเร็ว และแวะตลาดซื้อขนมเค้กที่แม่ชอบกลับมาฝากแม่และกราบขอโทษแม่ที่ทำให้ไม่สบาย ใจ โดยปูสัญญาว่าจะกลับบ้านเร็ว และช่วยแม่ทำงานบ้านในวันหยุด

ปู: “คุณแม่คะ วันนี้ปูซื้อขนมเค้กที่คุณแม่ชอบมาฝาก”

แม่: “ขอบใจจ้ะลูก”

ปู: “ปูขอโทษที่พูดไม่ดีกับคุณแม่ และประพฤติตนไม่ดี ต่อไปปูจะไม่ทำอีกค่ะ ปูจะเป็นเด็กดีนะคะ”

แม่: “ดีมากจ้ะลูก เพราะแม่รักลูกจึงเป็นห่วงลูกมากจ้ะ”

Leave a comment